Chapter 6
การออกแบบหน้าเว็บ
หลักการสำคัญของการออกแบบหน้าเว็ป คือ การใช้รูปภาพและองค์ประกอบต่างๆร่วมกันเพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือลักษณะของเว็ปให้น่าสนใจ บนพื้นฐานของความเรียบง่ายและสะดวกของผู้ใช้แนวคิดในการออกแบบหน้าเว็บ
-เรียนรู้จากเว็ปไซต์ต่างๆ ( สิ่งที่ได้คือ รูปแบบและเทคนิคใหม่ๆ )
-ประยุกต์รูปแบบจากสิ่งพิมพ์
-ใช้รูปแบบจำลองเปรียบเทียบ ( Metaphor )
-ออกแบบอย่างสร้างสรรค์
หลักการออกแบบหน้าเว็บ
1.การสร้างลำดับความสำคัญขององค์ประกอบ ( Visual Hierarchy )
สีและความแตกต่างของสี แสดงถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ภายในหน้า สีที่เด่นชัดเหมาะสำหรับองค์ประกอบที่สำคัญมาก ส่วนองค์ประกอบที่ใช้สีเดียวกันย่อมสื่อความหมายถึงความสำพันธ์ที่ใกล้ชิดและความสำคัญเท่าเทียมกัน การใช้สีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้ให้มองเห็นและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
ภาพเคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี แต่จะต้องใช้อย่างจำกัดและระมัดระวังเพราะใช้สิ่งเคลือนไหวมากเกินไปจะทำให้จุดสนใจบนหน้าจอมากจนตัดสินใจได้ยากว่าสิ่งไหนสำคัญ
2.สร้างรูปแบบ บุคลิกและสไตล์
รูปแบบ การเลือกรูปแบบที่เหมาะสมจะช่วยสร้งาความเข้าใจของผู้ใช้ได้ดีขึ้น
บุคลิก เว็บแต่ละประเภทมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเป้าหมายในการนำเสนอ บุคลิกที่เหมาะกับเนื้อหาย่อมทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้ดีขึ้น
สไตล์ คือลักษณะการจัดโครงสร้างของหน้า รูปแบบกราฟฟิกชนิดและการจัดตัวอักษรชุดสีที่ใช้ รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งไม่ควรสร้างสไตล์ของเว็บตามใจชอบแต่ควรคำนึงถึงความเหมาะสม
3.ความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซต์
ความสม่ำเสมอของโครงสร้างหน้าเว็บและระบบเนวิเกชั่นทำให้ผู้ใช่รู้สึกคุ้นเคยและสามารถคาดการณ์ลักษณะของเว็บได้ล่วงหน้า
4.จัดวางองค์ประกอบสำคัญไว้ในส่วนบนของหน้าเสมอ
ส่วนบนของหน้า หมายถึง ส่วนแรกของหน้าที่จะปรากฏขึ้นในบราวเซอร์โดยที่ยังไม่มีการเลื่อนหน้าจอใดๆ ควรประกอบด้วย
1.ชื่อของเว็บ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รู้ทันทีว่ากำลังอยุ่ในเว้บอะไร
2.ชื่อหัวเรื่องหรือชื่อแสดงหมวดหมู่ ของเนื้อหาที่ปรากฏ
3.สิ่งสำคัญ ที่เราต้องโปรโมตเว็บ
4.ระบบเนวิเกชั่น เพื่อให้ผู้ใช้คลิกส่วนที่ต้องการได้ทันที
5.สร้างจุดสนใจด้วยความแตกต่าง
การจัดองค์ประกอบให้ภาพรวมของหน้ามีความแตกต่างเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำสายตาผู้อ่านไปบริเวณต่างๆ เว็บที่ออกมาไม่ดีโดยเน้นไปที่การใช้กราฟฟิกหรือตัวอักษรที่มากเกินไป จะทำให้ยากต่อการมองหาข้อมูลที่มีความสำคัญจริงๆ
เราสามารถใช้ความแตกต่างของสีเข้ามาช่วยสร้างลักษณะเด่นในหน้าเว็บ เพื่อนำสายตาผู้อ่านไปยังส่วนสำคัญของเนื้อหาได้
6.จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบและเรียบง่าย
เนื้อหาในหน้าเว้บจำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่ดูง่ายแยกเป็นสัดส่วน และดูไม่แน่นจนเกินไป การมีข้อมูลหรือองค์ประกอบที่มากเกินไปทำให้ผู้อ่านขาดความสนใจ
เราจำเป็นต้องจัดการข้อมูลในหน้าเว็บให้มีความรูสึกเรียบร้อยและเป็นกันเอง การจัดวางตัวอักษร และรูปภาพให้เกิดพื้นที่ว่าง ทำให้ภาพรวมไม่แน่นจนเกินไป รวมถึงการจัดวางเนื้อเรื่องอย่างเป็นระบบและชัดเจน
*เนื้อหาที่มีความยาวเต็มความกว้างของหน้าจอเป็นสิ่งที่สร้างความลำบากต่อการอ่าน ควรจัดตัวหนังสือให้อยุ่ในคอลัมน์ที่ไม่กว้างเกินไป
7.ใช้กราฟิกอยากเหมาะสม
ควรใช้กราฟิกที่เป็นไอคอน ปุ่ม ลายเส้น และสิ่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมและไม่มากเกินไป เพื่อนหลีกเลี่ยงโครงสร้างของหน้าที่ยุ่งเหยิงและไม่เป็นระเบีบย
เข้าใจลักษณะการใช้งานของเว็บ
เราสามารถใช้ประโยชน์จากเว้บได้สองแนวทาง
1.การใช้เป็นสื่อโดยตรงให้อ่านบนหน้าจอ
2.การใช้เป็นสื่อกลางในการพิมพ์ข้อมูลลงในหน้ากระดาษเพื่อเก็บรวบรวมหรืออ่านในภายหลัง
*สำหรับเว็บที่ใช้อ่านบนหน้าจอควรมีขนาดกะทัดรัดไม่ยืดยาวหรือใช้กราฟิกมากเกินไป
ส่วนหน้าที่คาดว่าจะพิมพ์ควรออกแบบให้มีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้เปลืองกระดาษ
ออกแบบหน้าเว็บให้มีความยาวที่เหมาะสม
หน้าเว็บที่ไม่ยาวนักทำให้ดูน่าอ่านขณะที่หน้า้ว็บยาวๆทำให้ง่ายต่อการจัดการสำหรับผู้ที่ต้องการดาวน์โหลดหรือสั่งพิมพ์หน้าเหล่านั้น
โดยทั่วไปควรสร้างเว็บขนาดสั้นสำหรับ
1.หน้าโฮมเพจหรือหน้าที่เป็นแหล่งรวมลิงค์จำนวนมาก
2.หน้าเว็บที่คาดว่าถูกอ่านบนหน้าจอ
3.หน้าเว้บที่มีกราฟิกขนาดใหญ่มาก
สร้างเว็บขนาดยาวเพื่อ
1.ความสะดวกในการพิมพ์หรือดาวน์โหลด
2.ความสะดวกในการจัดการกับจำนวนไฟล์และลิงค์ที่น้อยลง
3.โครงสร้างของเนื้อหาจะได้ไม่ถูกตัดแบ่งออกจากกัน
การออกแบบหน้าเว้บสำหรับสั่งพิมพ์
บางครั้งเราอาจจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ทั้ง 2 ประเภทพร้อมกันโดยจัดทำเว็บสำหรับพิมพ์แยกคนละชุดกับเว้บสำหรับอ่านบนหน้าจอ โดยวิธีการดังนี้
1.แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วยย่อยๆ ส่วนละประมาน 2-3หน้าจอเพื่อนำไปสร้างหน้าเว้บ พร้อมสร้างลิงค์เชื่อมโยงเว็บทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้เว็บที่มีหน้าไม่ยาวนักเหมาะกับการอ่านบนหน้าจอ
2.สร้างลิงค์จากหน้าเว็บที่ได้ในขั้นแรกไปยังอีกเว็บหนึ่งที่รวมเนื้อหาทั้งหมดไว้ภายในไฟล์เดียวกันเพื่อสะดวกแก่การพิมพ์หรือดาวน์โหลด และต้องแน่ใจว่าความกว้างของหน้าจอจะไม่เกินพื้นที่ ที่สามารถพิมพ์ได้
รูปแบบโครงสร้างของหน้าเว็บ
โครงสร้างหน้าเว็บที่พบเห็นบ่อยๆ แบ่งเป็น 4 รูปแบบดังนี้
1.โครงสร้างหน้าเว้บแนวตั้ง
โครงสร้างหน้าเว้บในแนวตั้งถือเป็นรูปแบบพื้นฐานที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะมีรูปแบบที่ง่ายในการพัฒนาและมีข้อจำกัดน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่นๆ เมื่อใดที่หน้าเว้บมีความยาวกว่าพื้นที่หน้าจอ บราวเซอร์ก็จะแสดงสกอร์บาร์ขึ้นที่ขอบด้านขวาของหน้าต่าง
2.โครงสร้างหน้าเว็บแนวนอน
โครงสร้างหน้าเว็บในแนวนอนต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความพยายามมากกว่าปกติเนื่องจาก มีข้อจำกัดและสิ่งที่ต้องระวังค่อนข้างมาก เป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในแนวนอนอย่างเต็มที่
ปัญหาหนึ่งที่พบคือความกว้างของหน้าจอที่ไม่แน่นอนเนื่องจากความละเอียดของมอนิเตอร์ที่ต่างกัน หากข้อมูลเป็นตัวอักษรทั้งหมดจะสร้างความลำบากต่อผู้อ่านทำให้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหน้าจอไปทางด้านข้างเพื่อดูข้อมูล
3.โครงสร้างเว้บที่พอดีกับหน้าจอ
โครงสร้างรุปแบบนี้ใช้พื้นที่หน้าจอน้อยกว่าเว้บทั่วไปและมักจะจัดอยุ่กึ่งกลางของหน้าจอซึ่งจะออกแบบให้มีขนาดพอดีกับหน้าจอโดยไม่มี Scroll bar ปรากฏเหมาะที่จะใช้ในการนำเสนอข้อมูลที่มีปริมาณไม่มากนัก
4.โครงสร้งหน้าเว้บแบบสร้งสรรค์
รูปแบบสร้งสรรค์นี้อยุ่นอกเหนือกฏเกณฑ์ใดๆ มักมีรูปแบบและการจัดวางองค์ประกอบเฉพาะตัวที่คาดไม่ถึง เป็นเว็บของ ศิลปิน นักออกแบบ บริษัทโฆษณา เนื่องจากเป็นเว็บที่สื่อถึงการแสดงฝีมือและ ความสามารถในการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ได้เต็มที่
ส่วนประกอบของหน้าเว็บ
เราอาจแบ่งหน้าเว็บออกเป็นส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ
1.ส่วนหัว ( Page Header)
2.ส่วนเนื้อหา ( Page Body )
3.ส่วนท้าย ( Page Footer )
เพื่อออกแบบรายละเอียดในแต่ละส่วนได้อย่างเหมาะสมทำให้จัดวางกราฟิกและตัวอักษรสำคัญลงในแต่ละบริเวณอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์
1.บริเวณส่วนหัวของเว็บ
เป็นบริเวณที่สำคัญที่สุดในหน้า โดยปกติแล้วส่วนหัวของหน้ามักประกอบด้วย ชื่อเว็บ ระบบเนวิเกชัน และ หัวข้อหลักหรือชื่อของเนื้อหา
*บริเวณมุมซ้ายของหน้าจอเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เป็นบริเวณแรกของหน้าจอที่ผู้ใช้จะเริ่มต้นให้ความสนใจ ด้วยเหตุนี้เว็บส่วนใหญ่จึงวางโลโก้หรือชื่อเว็บไว้ในตำแหน่งนี้
2.ส่วนของเนื้อหา
ส่วนของเนื้อหาบนเว็บควรมีความกะทัดรัดและ จัดอย่างเป็นระเบียบเพื่อให้มองหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยแสดงใจความสำคัญไว้ในส่วนต้นๆของหน้า มีการจัดระเบียบตัวอักษรให้เหมาะสมเพื่อดูน่าสนใจ อ่านได้สะดวกและ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อเนื้อหามากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ทุกคนต้องการแหล่งเนื้อหาที่ชัดเจน เป็นระเบียบและน่าเชื่อถือ
3.ส่วนท้ายของหน้า
เป็นบริเวณที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและเว็บ โดยอาจเป็นเนวิเกชันแบบโกบอลที่เป็นตัวอักษรหรือ อาจเป็นที่รวมของลิงค์ที่เกี่ยวกับนโยบายทางกฏหมาย ลิขสิทธ์ ความเป็นส่วนตัว และวิธีการติดต่อกับผู้ดูแลเว็บ
เทคนิคการจัดโครงสร้างของหน้า
จัดโครงสร้างของหน้าโดยใช้ตาราง
เว็บส่วนใหญ่มีการจัดโครงสร้างของหน้าโดยใช้ตารางแทบทั้งสิ้นหากไม่มีการใช้ตารางมาช่วยจัดโครงสร้างในหน้าเว้บตัวอักษรแลกราฟิกทั้งหมดจะเรียงติดกันทั่วทั้งหน้าอย่างไม่เป็นสัดส่วน
ออกแบบหน้าโฮมเพจ
สิ่งสำคัญในการออกแบบหน้าแรกคือ
การคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ใช้คาดหวัง และ จัดเตรียมสิ่งเหล่านั้นไว้ให้พร้อม ทำให้ผู้ใช้รู้ได้ทันทีว่าเว็บนั้นเกี่ยวข่องกับอะไร รวมถึงการสร้างระบบเนวิเกชันให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว รูปแบบของหน้าแรกขึ้นอยู่กับลักษณะและวัตถุประสงค์ของเว็บ
หน้าโฮมเพจเปรียบเสมือนหน้าปกนิยสาร ต้องออกแบบให้น่าสนใจและ มีการแนะนำถึงเนื้อหาสำคัญภายในเล่ม โฮมเพจที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
หน้าโฮมเพจเปรียบเสมือนหน้าปกนิยสาร ต้องออกแบบให้น่าสนใจและ มีการแนะนำถึงเนื้อหาสำคัญภายในเล่ม โฮมเพจที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1.แสดงถึงภาพรวมและสิ่งที่เป็นประโยชน์ในเว็บ
2.ดูน่าสนใจและมีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหา
3.มีลิงค์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ส่วนหลักๆ ของเว็บ
4.แสดงผลได้รวดเร็ว โดยใช้กราฟิกอย่างจำกัด
5.แสดงถึงเอกลักษณ์ของเว็บด้วยการแสดงชื่อของเว็บ
2.ดูน่าสนใจและมีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหา
3.มีลิงค์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ส่วนหลักๆ ของเว็บ
4.แสดงผลได้รวดเร็ว โดยใช้กราฟิกอย่างจำกัด
5.แสดงถึงเอกลักษณ์ของเว็บด้วยการแสดงชื่อของเว็บ
6.แสดงถึงสิ่งที่ปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจว่า มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาภายใน
7.แสดงวันที่ปัจจุบัน
8.เปลี่ยนแปลงรูปกราฟิกเป็นประจำทุกวัน สัปดาห์ หรือ เดือน
9.แสดงข่าวหรือข้อมูลความเคลือนไหวใหม่ๆ ให้ผู้ใช้ได้รับรู้ในหน้าแรก
10.สร้างส่วนของเนื้อหาที่แสดงถึงสิ่งใหม่ๆในเว็บ
7.แสดงวันที่ปัจจุบัน
8.เปลี่ยนแปลงรูปกราฟิกเป็นประจำทุกวัน สัปดาห์ หรือ เดือน
9.แสดงข่าวหรือข้อมูลความเคลือนไหวใหม่ๆ ให้ผู้ใช้ได้รับรู้ในหน้าแรก
10.สร้างส่วนของเนื้อหาที่แสดงถึงสิ่งใหม่ๆในเว็บ