MapleStory Finger Point

> ,<~

> ,<~

เลือกใช้สีสำหรับเว็บ

Chapter 8


                  เลือกใช้สีสำหรับเว็บ ( Design web colors )


                ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์

     -สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้ เช่น ข้อมูลใหม่หรือ โปรโมชั่นพิเศษ

     -เชื่อมบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
     -สามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่างๆ ออกจากกันได้
     -สามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเพจ
     -ช่วยสร้างระเบียบให้ข้อความต่างๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
     -สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ


                ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี


                การผสมสี

                การผสมสีมี 2 แบบคือ
     -การผสมแบบบวก ( Additive mixing )
จะเป็นการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ


     การนำไปใช้งาน จะนำไปใช้ในสื่อใดๆ ที่ใช้แสงส่องออกมาเช่น จอโปรเจคเตอร์ ทีวี หรือจอมอนิเตอร์

     -การผสมแบบลบ ( Subtractive mixing )
การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่จะเกี่ยวข้องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุ

     การนำไปใช้งาน จะนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาด รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ


                วงล้อสี ( Color Wheel )

     เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดเรียงสีทั้งหมดไว้ในวงกลม และ เป็นการจัดลำดับเฉดสีอย่างมีเหตุผลและ ง่ายต่อการนำไปใช้ 
     -วงล้อแบบลบ ( Subtractive Color Wheel )
     
     -วงล้อสีแบบบวก ( Additive Color Wheel )

                สีที่เป็นกลาง ( Neutral Color )

     คือสีกลุ่มหนุ่งที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในวงล้อสี เพราะเป็นสีที่ไม่ได้รับอิธิพลมาจากสีอื่น ซึ่งก็คือ สีขาว สีเทา สีดำ



                สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี ( Tint, Shade and Tone )

     ในการผสมสีกลางเข้ากับสีบริสุทธิ์ จะเกิดเป็นสีต่างๆ จำนวนมากมาย 
     - สีบริสุทธิ์ผสมกับสีขาว จะได้เป็นสีอ่อน ( Tint of the hue )
     -สีบริสุทธิ์ผสมกับสีเทา จะได้โทนสีระดับต่างๆ ( Tone of the hue )
     -สีบริสุทธิ์ผสมกับสีดำ จะได้สีที่เข้ม ( shade of the hue )

     สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี มีประโยชน์อย่างมากในการจัดชุดของสี เพราะทำให้สีหนึ่งสามารถแสดงออกและให้ความรู้สึกได้หลายแบบยิ่งขึ้น

                ความกลมกลืนของสี ( Color Harmony )

     ความเป็นระเบียบของสี ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงสมดุลและความสวยงามในเวลาเดียวกัน
     - การใช้สีที่จืดชืดไป จะทำให้เกิดความรู้สึกที่หน้าเบื่อ และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้
     - การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย ขาดระเบียบ และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม

     เป้าหมายในเรื่องสี คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม


                รูปแบบชุดสีพื้นฐาน ( Simple Color Schemes )

     ชุดสีที่ถูกจัดกลุ่มอย่างเข้ากันด้วยรูปแบบต่างๆ
     
     -ชุดสีร้อน ( Warm Color Scheme ) ประกอบด้วยสีม่วงแกมแดง, แดงแกมม่วง, แดง, ส้ม, เหลืองและ เขียอมเหลือง
     สีเหล่านี้สร้างความรู้สึกอบอุ่น สบาย และรู้สึกต้อนรับแก่ผู้ชม


     
     -ชุดสีเย็น ( Cool Color Scheme ) ประกอบด้วยสีม่วง, สีน้ำเงิน, น้ำเงินอ่อน, ฟ้า, น้ำเงินแกมเขียวและ สีเขียว
     ชุดสีเย็นนี้ให้ความรู้สึกเย็นสบาย องค์ประกอบรู้สึกเย้นสบาย องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพเรียบร้อย

     -ชุดสีแบบเดียว ( Monochromatic Color Scheme ) เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุดคือมีค่าของสุทธิ์เพียงสีเดียว แต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้ม อ่อน ในระดับต่างๆ
     ชุดสีแบบนี้จะค่อนข้างมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว แต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวาเพราะขาดความหลากหลายของสี


     -ชุดสีแบบสามเส้า ( Triadic Color Scheme ) เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม ซึ่งเป็นสีที่มีระยะในวงล้อสีเท่ากัน จึงมีความเข้ากันได้อย่างลงตัว


     -ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน ( Analogous Color Scheme ) ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อ สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้ แต่อาจส่งผลให้ขอบเบตของสีกว้างไป
     
     -ชุดสีตรงข้าม ( Complementary Color Scheme ) คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี เมื่อนำทั้งสองสีมาใช้คู่กัน จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น

          
     -ชุดสีตรงกันข้ามข้างเคียง ( Split Complementary Color Scheme ) เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม ชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น แต่จะมีผลให้ความสดใส ความสะดุดตาและ ความเข้ากันของสีลดลงด้วย

     -ชุดสีตรงกันข้ามข้างเคียงทั้งสองด้าน ( Double Split Complementary Color Scheme ) ดัดแปลงจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน แต่สีตรงข้ามทั้งสองสีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้นข้างทั้งสองด้าน
     ชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้นแต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง

                ระบบสี RGB

     R=Red   G=Green   B=Blue
     การแสดงค่าด้วยเลขฐาน16

          - 000000  คือ แดง0 น้ำเงิน0 เขียว0 ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคือ สีขาว
          
          -FFFFFF  คือ แดงเข้มที่สุด เขียวเข้มที่สุด และ น้ำเงินเข้มที่สุด  ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ สีดำ

          -FF0000 คือ แดงเข้มสุด เขียว0 และน้ำเงิน0 ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ สีแดงเข้มที่สุด

          -110000 คือ แดงเข้มน้อยสุด เขียว0 น้ำเงิน0 ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ สีแดงอ่อน


     

เพลง

Count  : Must See Places In Paris